เหรียญพระไพรีพินาศ ภปร ครบ 50ปี ทรงพระผนวช ด้านหลัง ภปร. พร้อมกล่องเดิมๆ

คุณสมบัติสินค้า:

Share

เหรียญพระไพรีพินาศ ภปร ครบ 50ปี ทรงพระผนวช ด้านหลัง ภปร. ชุดทองคำ หนัก 21.5กรัม พร้อมกล่องเดิมๆ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงเป็นประธานพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ นิยมและหายากมาก

รายละเอียดสินค้า เหรียญพระไพรีพินาศ ภปร ครบ 50ปี ทรงพระผนวช ด้านหลัง ภปร. ชุดทองคำ หนัก 21.5กรัม พร้อมกล่องเดิมๆ

เหรียญพระไพรีพินาศ หลัง ภปร ที่ระลึกครบ 50 ปี ทรงพระผนวช ปี 2550 ด้านหลัง ภปร. ชุดทองคำ สร้าง 550 ชุด นิยมและหายากมากครับ ประกอบด้วย

  • เนื้อทองคำ หนัก 21.5 กรัม
  • เนื้อเงิน หนัก 15.7 กรัม
  • เนื้อทองแดง หนัก 14.5 กรัม
  • ขนาดของเหรียญ กว้าง 2.7 ซม. สูง 4.2 ซม.

คณะกรรมการโครงการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดสร้าง "เหรียญพระไพรีพินาศ ภ.ป.ร." ที่ระลึกครบ ๕๐ ปีแห่งการทรงพระผนวช ๒๔๙๙-๒๕๔๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชครบ ๕๐ ปี โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงเป็นประธานพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนที่ศรัทธาสนใจ ร่วมบริจาคปัจจัยเช่าบูชา เหรียญพระไพรีพินาศ ภ.ป.ร. โดยเสด็จพระราชกุศล มีรายละเอียดดังนี้

๑.เหรียญทองคำน้ำหนัก ๒๒ กรัม ชุดละ ๓๐,๐๐๐ บาท สร้าง ๕๕๐ ชุด (ประกอบด้วยเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง)

๒.เหรียญเงิน เหรียญละ ๒,๕๕๐ บาท จัดสร้างจำนวน ๒,๕๕๐ ชุดและ

๓.เหรียญทองแดง จัดสร้างจำนวน ๒๔๘,๕๕๐ เหรียญ

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2489 พระองค์ท่านทรงมีพระราชศรัทธาที่จะผนวชในพระพุทธศาสนา ดังนั้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้เข้าพระราชพิธีทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระอุปัชฌาจารย์ และทรงได้รับพระสมญานามว่า “ภูมิพโล ภิกขุ” หรือขานพระนามตามสำนักพระราชวังว่า พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อเสร็จพระราชพิธีทรงพระผนวชแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า มาประทับ ณ “พระตำหนักปั้นหย่า” วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 ที่เสด็จออกทรงพระผนวชขณะทรงครองราชย์

และเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี ทรงพระผนวช ทางคณะกรรมโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้จัดงาน “นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี ทรงพระผนวช” ขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพระพุทธศาสนิกชน และพระราชกรณียกิจขณะที่ทรงพระผนวช

ทั้งนี้กิจกรรมในงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “50 ปี ทรงพระผนวช” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ได้แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานในการเสด็จออกทรงพระผนวช พระราชกรณียกกิจขณะทรงพระผนวชเป็นเวลา 15 วัน และพระราชพิธีทรงลาพระผนวช ซึ่งภาพและเนื้อหาที่นำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการทั้งหมด เป็นสิ่งที่หาชมได้ยากมากและยังควรค่าแก่การชื่นชม

นอกจากนี้ก็ยังมี นิทรรศการพระมหากษัตริย์ไทยกับการทรงพระผนวช ที่มีเนื้อหาตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีทรงพระผนวช ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้เกี่ยวกับการประกอบพิธีทรงพระผนวชของพระ มหากษัตริย์ไทย เครื่องบริขารในพระราชพิธี และเครื่องบริขารพระราชทานนาคหลวง

สำหรับกิจกรรมส่วนที่ 2 ของงาน คือ กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล มีการจัดตักรบาตรตลอดถนนพระสุเมรุ บริเวณรอบวัดบวรฯ การร่วมสวดมนต์เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเวลา 17.00 น. ทุกวันที่มีงาน ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร

นอกจากนี้คณะกรรมการจัดงานยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อัญเชิญอักษร พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานอีกด้านหนึ่งของเหรียญพระไพรีพินาศ รูปทรงเสมา “ที่ระลึก ครบ 50 ปี แห่งการทรงพระผนวช พุทธสักราช 2499-2549” ซึ่งจะมีการจัดพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 18 ต.ค. 49 เวลา 13.00 น. โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และมีการจัดพิมพ์หนังสือ 50 ปี ทรงพระผนวช

ในส่วนของกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจในงานนี้ก็มี การแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรมไทยในปัจจุบันที่หาชมได้ยาก อาทิ การสาธิตการทำขวัญนาค โดย ชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ การแสดงดนตรีไทยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อาทิ เพลงพระขึ้น เพลงพระล่อง และพระสาธุการ โดยจะจัดแสดงทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-16.30 น.

นอกจากนี้ยังมีการออกร้านอาหารและขนมไทยมีความเป็นมายาวนาน มีชื่อเสียงตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2499 บางร้านรุ่นพ่อเคยเป็นชาวเครื่องในขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวช ซึ่งผู้สนใจงาน “นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี ทรงพระผนวช” ได้ ระหว่างวันที่ 21 ต.ค.-5 พ.ย. 49 ณ อาคารมนุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวรวิหาร เวลา 09.00-16.00 น. โดยหลังจากนั้นเวลา 17.00-18.00 น. ที่พระอุโบสถจะมีการประกอบพิธีไหว้พระสวดมนต์เจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใครสนใจก็สามารถไปเที่ยวชมกันได้ในวันเวลาที่กล่าวมาข้างต้น

พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อม มีขนาดหน้าพระเพลา๓๓ เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปแบบธยานิพุทธเจ้า ปางประทานพร สมัยศรีวิชัย แต่นักสังเกตบางคนสงสัยว่า “พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย มีเพียงเกตุมาลา เป็นจอมคล้ายสมัยทราวดีเป็นพื้น” พระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อยังทรงผนวชอยู่ ราว พ.ศ.๒๓๙๑ ได้ถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ”

ซุ้มเก๋ง ด้านเหนือแห่งพระเจดีย์นั้น เป็นที่ประดิษฐานพระไพรีพินาศ ในการบูรณปฏิสังขรณ์ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗-๘ นี้ ทำประตูเหล็ก ๒ ชั้น ช่องหน้าต่างใส่เหล็กทั้งสองข้าง ฝาผนังปิดโมเสก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ปิดทองพระไพรีพินาศ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ด้วย

ในหนังสือตำนานวัดมีกล่าวว่า “พระไพรีพินาศ ใคร่ครวญตามพระนามน่าจะได้เชิญประดิษฐานไว้ในเก๋งน้อยที่สร้างใหม่ ณ ทักษิณชั้นบนแห่งพระเจดีย์ในครั้งนั้น เว้นไว้แต่จักได้ประดิษฐานไว้แล้วในครั้งยังทรงผนวชเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ ที่เป็นคราวสิ้นเสี้ยนศัตรู ครั้งแรก”
พระไพรีพินาศ ในสาสน์สมเด็จเล่ม ๒ หน้า ๘๕-๙๐-๑๑๖

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตั้งปัญหาถามกระหม่อมว่า พระไพรีพินาศนั้น เป็นพระอะไร มาแต่ไหน ทำไมจึงมาอยู่วัดบวรนิเวศ เหตุใดจึงชื่อว่า ไพรีพินาศ เกล้ากระหม่อมหงายท้อง ไม่สามารถตอบได้ อยากรู้เหมือนกัน เคยทูลถามฝ่าพระบาทก็ไม่ทรงทราบเหมือนกัน หันไปหันมาเห็นกรมหมื่นพงศา จึงลองเข้าจดทูลถามดู ตรัสบอกว่า ใครก็ทรงจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว เป็นผู้นำมาถวายทูลกระหม่อมเมื่อยังทรงผนวชอยู่ เป็นเวลาติดต่อกับที่หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษ จึงโปรดตั้งพระนามว่า "พระไพรีพินาศ”

พระไพรีพินาศเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการบูรณะพระเจดีย์ใหญ่ได้เปิดองค์พระไพรีพินาศเจดีย์ดู พบกระดาษสีขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนว่า "พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ" อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า "เพระตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ"

คาถาบูชาพระไพรีพินาศ
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สุจิรํ ปรินิพฺพุโต
คุเณหิ ธรมาโนทานิ ปารมีหิ จ ทิสฺสติ
ยาวชีวํ อหํ พุทธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คโต
ปูเชมิ รตนตฺตยํ ธมฺมํ จรามิ โสตฺถินา.
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้