พันธบัตรทองคำ

คุณสมบัติสินค้า:

พันธบัตรชนิดจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ ออกตามความใน พ.ร.บ.

Share

พันธบัตรทองคำ คือ พันธบัตรชนิดจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ ออกตามความใน พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ. 2485 พันธบัตรนี้มีอายุ 8 ปี อัตราดอกเบี้ย 3% วงเงินกู้ 30 ล้านบาท ไถ่ถอนคืนตามราคาที่ตราไว้ หรือจะขอรับชำระเป็นทองคำก็ได้ ในอัตราทองคำบริสุทธิ์ กรัมละ 5.78 บาท ซึ่งการเลือกไถ่ถอนเป็นทองคำนี้เป็นที่มาของคำว่า “พันธบัตรทองคำ” ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พันธบัตรทองคำนี้ มีชนิดราคา 10000 บาท 1000 บาท 100 บาท และ 50 บาท ออกจำหน่ายระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2494 กระทรวงการคลังได้ขอซื้อทองคำอันเป็นทุนสำรองเงินตราจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำเหรียญทองคำและแท่งทองคำ ใช้ในการไถ่ถอน โดยนายช่วง สเลลานนท์ ช่างศิลป์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ออกแบบเหรียญ กองกษาปณ์ กรมคลัง เป็นผู้ดำเนินการจัดทำเหรียญและแท่งทองคำ บริษัทบาโรเบราว์ รับจ้างทำเบ้าหลอมทองคำ ทั้งนี้โดยมีนายแนบ พหลโยธิน เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมและจัดสร้างเหรียญและแท่งทองคำ สำหรับเหรียญทองคำและแท่งทองคำเพื่อใช้ในการไถ่ถอนตามวงเงิน 30,000,000 บาท นั้น มีจำนวนการผลิต คือ 1. เหรียญทองคำ ชนิดราคา 50 บาท จำนวน 2,028 เหรียญ 2. เหรียญทองคำ ชนิดราคา 100 บาท จำนวน 1,264 เหรียญ 3. เหรียญทองคำ ชนิดราคา 1000 บาท จำนวน 3,160 เหรียญ 4. แท่งทองคำ ชนิดราคา 10000 บาท จำนวน 641 แท่ง (ปัจจุบันพบแท่งทองคำนี้เพียง 2 แท่ง) 5. แท่งทองคำ ชนิดราคา 100000 บาท จำนวน 48 แท่ง (ปัจจุบันยังไม่พบแท่งทองคำนี้) 6. แท่งทองคำ น้ำหนักแตกต่างกัน ตามราคาพันธบัตรของผู้ถือรายใหญ่ จำนวน 8 ราย รวม 464 แท่ง (ปัจจุบันยังไม่พบแท่งทองคำนี้) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีพันธบัตรทองคำจำนวนหนึ่งจากการซื้อพันธบัตรไว้ตั้งแต่เมื่อแรกออกพันธบัตรเมื่อ พ.ศ. 2485 และต่อมาได้รับซื้อพันธบัตรทองคำที่จัดทำขึ้นเพื่อการไถ่ถอนพันธบัตรเงินกู้จากกระทรวงการคลังและสำนักงานพระคลังข้างที่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดได้นำเข้าไปเป็นทุนสำรองเงินตราของประเทศ ต่อมาได้โอนแท่งทองคำชนิดราคา 10000 บาท จำนวน 1 แท่ง และ เหรียญทองคำทุกชนิดราคา ชนิดละ 2 เหรียญ ออกจากทุนสำรองเงินตรา โดยรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเข้าไว้แทน เพื่อนำมาเป็นวัตถุพิพิธภัณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศในช่วงสงคราม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้